Software ERP

(Enterprise Resource Planning)

Mobirise



Software ERP (Enterprise Resource Planning) คือ ซอฟต์แวร์การวางแผนทรัพยากรองค์กร เป็นระบบซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ได้รวบรวมสารสนเทศและบูรณาการทรัพยากรองค์กรแบบเต็มระบบ มีความยืดหยุ่นสูง มีประสิทธิภาพสูง และเป็นที่ยอมรับทั่วโลกในปัจจุบัน ถูกออกแบบมาโดยมุ่งเน้นการดำเนินงานทุกฝ่ายตามลักษณะธุรกิจให้สอดคล้องกับโมเดลอ้างอิงการดำเนินการทางซัพพลายเชน

เหตุผล 10 ประการที่บริษัทจะต้องอาศัย ERP เข้ามาช่วย

  1. ช่วยรวบรวมข้อมูลทางการเงินของบริษัท เพื่อให้ประธานกรรมการบริหารเข้าใจถึงภาพรวมของฐานะทางการเงินและการดำเนินงานของบริษัท ซึ่งจะส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารได้ โดย ERP จะเข้ามาช่วยรวบรวมข้อมูลชุดเดียวซึ่งจะตอบคำถามและข้อสงสัยทุกคนได้เพราะว่าทุกคนได้ใช้ระบบเดียวกัน
  2. ERP ยังรวบรวมข้อมูลการสั่งสินค้าของลูกค้า ตั้งแต่การสั่งซื้อของลูกค้าผ่านตัวแทนขายจนกระทั่งถึงขั้นตอนของการส่งสินค้าและเก็บเงิน โดยจะทำให้บริษัทดำเนินการต่างๆ ได้ง่ายรวมถึงการสื่อสารกันระหว่างภายในได้ง่ายขึ้น และยังสามารถตรวจสอบสถานะการดำเนินงานได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะเป็นการประสานกันระหว่างกระบวนการตั้งแต่ การผลิตการเก็บรักษาสินค้า จนถึงการขนส่งสินค้าให้ลูกค้าไปยังที่หมายปลายทางที่ต่างกันในเวลาเดียวกันได้
  3. สร้างมาตรฐานและเพิ่มความรวดเร็วในกระบวนการผลิต ซึ่งบริษัทผู้ผลิตที่ใช้ระบบต่างๆ กันสามารถเชื่อมโยงข้อมูลและสื่อสารกันได้ โดยที่ ERP ได้เข้ามาช่วยสร้างมาตรฐานดังกล่าวในกระบวนการผลิตแต่ละขั้นตอนโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ระบบเดียว ทำให้ประหยัดเวลา เพิ่มผลิตภาพการผลิตและลดต้นทุนต่อหน่วยได้เป็นอย่างดี
  4. ลดภาระด้านสินค้าคงคลัง ERP จะช่วยให้กระบวนการผลิตเป็นไปอย่างราบรื่นและยังเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต ด้วยยอดการสั่งซื้อที่เป็นจริง ทำให้ช่วยลดสินค้าคงคลังได้ และยังช่วยในการวางแผนในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าซึ่งจะช่วยลดสินค้าขั้นสุดท้ายในระบบคงคลังของการขนส่งได้เป็นอยางดี
  5. ช่วยในการวางแผนทรัพยากรบุคคลขององค์กร ทราบถึงประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่แผนก ลดเวลาการคำนวนเงินเดือนและฐานข้อมูลทางด้านบุคลากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัที่มีหลายหน่วยธุรกิจ ซึ่ง ERP จะสามารถขจัดปัญหาการสื่อสารเรื่องผลประโยชน์และบริหารไปยังพนักงานทุกคนได้
  6. ช่วยให้มีการพยากรณ์สถานะการณ์ของส่วนงานต่างๆ ได้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะเป็น การพยากรณ์ยอดขาย การพยากรณ์ระดับสินค้าคงคลัง และการพยากรณ์ของแผนกต่างๆ เพื่อให้ผู้บริหารทราบสถานะการณ์ล่วงหน้า เพื่อการตัดสินใจในการวางแผนธุรกิจในแง่ต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว
  7. ช่วยสร้างมาตรฐานในการทำงานและขั้นตอนการปฏิบัติงานของส่วนงานต่างๆ ให้เป็นรูปแบบและมาตรฐานเดียวกัน สร้างความชัดเจนและหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัตงาน ลดความไม่เข้าใจ ความผิดพลาด และเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่
  8. ช่วยประเมินประสิทธิภาพของผู้ขาย ทั้งด้านคุณภาพวัตถุดิบ คุณภาพการบริการ คุณภาพหลังการขาย เพื่อยังคงคุณภาพของมาตรฐานการผลิตสินค้าและการคัดเลือกคู่ค้าที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  9. การจัดการสินทรัพท์ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องวัด ต่างๆ ERP ช่วยการวางแผนบำรุงรักษา ซ่อมบำรุง ปรับปรุง ให้ยังคงสภาพการใช้งาน และเก็บประวัติการบำรุงรักษาต่างๆ อย่างละเอียด
  10. สุดท้ายจุดสำคัญของระบบ ERP คือระบบรายงานอัจฉริยะ ที่ผู้ใช้ทุกระดับต้องการ ERP สามารถช่วยสร้างรายงานด้วยตัวท่านเอง ซึ่งรายงานอัจฉริยะนั้นสำคัญสำหรับผู้บริหารระดับสูงอย่างยิ่ง เพื่อสร้างรายงานสถิติ รายงานการเปรียบเทียบยอดต่างๆ ตามช่วงเวลา ตามผลิตภัณฑ์ และรายงานเพื่อการตัดสินใจอื่นๆ อีกมากมาย เพื่อการวางแผนและการตัดสินใจที่ดีที่สุด อย่างคำที่ว่า “Better Information Better Decisions”

ขั้นตอนทั่วไปของการดำเนินการติดตั้งระบบ ERP

  • ศึกษาขั้นตอนการทำงานของธุรกิจ: ศึกษาขั้นตอนการทำงานของส่วนงานต่างๆ ขององค์กรที่จะติดตั้ง เพื่อทำความเข้าใจขั้นตอนทำงานทั้งหมดและสิ่งที่อยากให้เป็น กำหนดเป้าหมายและความคาดหวังของการนำระบบ ERP เข้ามาช่วยเหลือการทำงานในองค์กร
  • อบรมการใช้งานระบบก่อนการติดตั้ง: อธิบายถึงแนวคิดและคุณลักษณะของระบบ ERP โดยควรจะอบรมส่วนนี้ให้กับ ผู้ใช้งานระบบทั้งหมดขององค์กรที่จะติดตั้ง ซึ่งขั้นตอนนี้จะช่วยให้ผู้ใช้งานระบบเข้าใจในตัวระบบมากขึ้น ทำให้ลดเวลาการติดตั้งระบบทั้งหมดลงได้บางส่วน
  • วิเคราะห์ความต้องการ: จัดทำการวิเคราะห์และเก็บความต้องการขององค์กรที่จะติดตั้ง โดยใช้แบบฟอร์มหรือรูปแบบเอกสาร ในการจัดทำ ข้อกำหนดความต้องการระบบ SRS (System Requirements Specification) และให้ผู้จัดการโครงการขององค์กรที่ติดตั้งระบบรับรอง
  • วิเคราะห์ความแตกต่าง: วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างระบบเดิมเปรียบเทียบกับระบบใหม่ และสิ่งที่ต้องการให้เป็น ได้ผลออกมาเป็น รายงานวิเคราะห์ความแตกต่าง เพื่อให้ระบบ ERP สร้างประโยชน์สูงสุดแก่องค์กรที่นำซอฟต์แวร์กึ่งสำเร็จรูป นั้นจำเป็นต้องทำการ วางโครงสร้างใหม่ แล้วสามารถนำไปใช้งานกับกระบวนการทำงานที่แตกต่างไป
  • ปรับแก้ส่วนต่าง: จากรายงานวิเคราะห์ความแตกต่าง นั้นนำมา วางโครงสร้างใหม่ และ พัฒนาส่วนต่างนั้นขึ้นมา เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานกับกระบวนการทำงานที่แตกต่างไป ซึ่งส่วนนี้อาจจะใช้เวลาในการปรับแก้พอสมควร เนื่องจากต้องวางโครงสร้างใหม่และมีการพัฒนาใหม่ๆ ซึ่งอาจกระทบต่อโครงสร้างโดยรวม ที่ต้องปรับเพื่อให้ระบบกลับมาเสถียรเหมือนเดิม
  • เตรียมข้อมูลหลัก: ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมากซึ่งสามารถทำให้โครงการติดตั้งนั้นล้าช้า และจำเป็นต้องกระทำในช่วงแรกๆ ของขั้นตอนการติดตั้ง ทีมงานต้องใส่ใจทั้งก่อนและหลังการเตรียมข้อมูลหลักเพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เนื่องจากอาจจะส่งผลต่อการทำงานที่ผิดพลาดหลังจากเริ่มต้นใช้ระบบจริงๆแล้ว
  • การติดตั้งซอฟต์แวร์: การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สำเร็จแล้ว ควรทราบถึงโครงสร้างพื้นฐานของฮาร์ดแวร์เป็นอย่างดีและต้องใส่ใจทุกส่วนการทำงาน ละเอียดอ่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาในอนาคต
  • ปรับแต่งแบบฟอร์มการทำงานและรายงาน: จากความต้องการขององค์กรที่ติดตั้งระบบ นั้นอาจมีความต้องการให้ปรับหน้าจอการทำงานและรายงานบางส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานแบบเดิม หลังจากปรับเปลี่ยนจำเป็นต้อง ทดสอบระบบ ในทุกส่วนการทำงานอย่างละเอียดอีกครั้ง
  • การถ่ายโอนข้อมูลเก่า: ถ้าหากองค์กรที่จะติดตั้งระบบ ต้องการที่จะนำข้อมูลจากระบบเก่าโอนเข้าสู่ระบบใหม่ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนการโอน และเตรียมข้อมูลสำหรับนำเข้าสู่ระบบใหม่
  • ติดตั้งและปรับตั้งค่า: การติดตั้งขององค์ประกอบทั้งหมดต้องยึดตาม ข้อกำหนดความต้องการของระบบและซอฟต์แวร์ต้องได้การปรับตั้งค่าอย่างบริบูรณ์
  • ทดสอบระบบ: ทีมติดตั้งต้องจำลององค์ประกอบต่างๆ ของซอฟต์แวร์และทำการทดสอบระบบ และสามารถให้ผู้ใช้งานจริงเข้าระบบเพื่อทำความคุ้นเคยและเตรียมตัวสู่การใช้งานจริง
  • อบรมการใช้การแก่ผู้ใช้งาน: เริ่มการอบรมการใช้งานระบบทั้งหมด ให้แก่ผู้ใช้งานจริง ในแต่ละส่วนงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง การปรับตั้งค่า ขั้นตอนการใช้งานในกระบวนการทำงานต่างๆ และ ส่วนรายงานต่างๆของระบบ
  • ทดลองใช้ระบบ: จำลององค์ประกอบต่างๆ ให้ผู้ใช้ระบบ เข้ามาทดลองใช้งานจริง เพื่อหาข้อผิดพลาดต่างๆ เพื่อแก้ไขก่อนเริ่มใช้งานจริง
  • เริ่มต้นใช้งานจริง: ให้ผู้ใช้ระบบใช้งานจริง ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นการบอกว่าระบบติดตั้งแล้วเสร็จแล้ว
  • การดูแลระบบหลังติดตั้ง: ภายหลังการติดตั้ง ทีมช่วยเหลือลูกค้า ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการดูแลรักษาระบบ 

สาเหตุที่ล้มเหลวในการติดตั้ง ERP

โดยทั่วไปแล้วดูเหมือนว่า ERP จะเป็น สิ่งที่ดีที่สุดของการดำเนินงาน ซึ่งประกอบไปด้วยหน้าที่ที่ต่างกันภายในแต่ละบริษัท เพื่อที่บริษัทจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดจาก ERP บริษัทต้องให้พนักงานปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานให้เข้ากับโปรแกรมซึ่งหากมีพนักงานฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นถึงความจำเป็นในการใช้ ERP และไม่นำไปใช้งาน จุดนี้อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บริษัทประสบความล้มเหลวในการใช้ ERP ได้ นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนโปรแกรมเพื่อให้เข้ากับระบบการทำงานเดิมของบริษัทจะทำให้ต้องจ่ายเพิ่มในการปรับโปรแกรมในราคาที่แพงขึ้นแล้ว โปรแกรมที่มีการปรับเปลี่ยนไปอาจไม่เสถียรพอและอาจดูแลได้ยากเมื่อมีการเปิดใช้ระบบ แต่โดยทั่วไปแล้วแผนกไอทีส่วนใหญ่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้ทันท่วงที อีกทั้งบริษัทขนาดใหญ่บางบริษัทพยายามหลีกเลียงที่จะปรับเปลี่ยน ERP ให้เข้ากับระบบงานของตนเอง จึงสันนิษฐานกันว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในบริษัทต่างๆ ในการที่จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของพนักงานมากกว่า ซึ่งหากเกิดการต่อต้านขึ้นในบริษัทอาจส่งสัญญาณถึงความล้มเหลวออกมาแล้ว ซึ่งโดยรวมแล้วสาเหตุต่างๆ มีดังนี้  
  • ใช้ซอฟแวร์ต่างชาติ ลงทุนสูงจนไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไป
  • ไม่เข้าใจโลจิสติกส์ และการจัดการซัพพลายเชนดี
  • ซอฟแวร์ชุดสำเร็จรูป ต้นทุนการปรับแก้ตามความต้องการแพงมาก
  • ซอฟแวร์ขาดความยืดหยุ่น
  • ติดตั้งยากในระยะเริ่มแรกของโครงการใหม่
  • การติดตั้งระบบที่ไม่รู้จบ
  • พนักงานมีความรู้ภาษาอังกฤษน้อย เมนูภาษาเดียวคือภาษาอังกฤษ
  • พฤติกรรมองค์กรเปลี่ยนแปลงยาก ไม่ BRP ก่อนนำมาใช้
  • การแปลงข้อมูลจากระบบเดิมขึ้นระบบใหม่
  • การเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์
  • ซอฟแวร์ต่างชาติ ขาดทีมพัฒนา และขาด Source Code
  • ความสามารถซอฟแวร์ไม่เหมาะกับธุรกิจ
  • การสื่อสารระหว่างทีมงาน และลูกค้า
  • พนักงานไม่ให้ความร่วมมือในการใช้งาน 
Mobirise
Address

75 Bang Chan, Khlong Sam Wa, Bangkok 10510, Thailand

Contacts

Email: support@vinfo.co.th
Phone: 02-175-2986-7
Fax: 02-175-3499

Designed with ‌

Mobirise.com